ประวัติความเป็นมา

          ฝ่ายการเงินและบัญชี เป็นหน่วยงานหนึ่งในสังกัดสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร ของ สสวท. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณ ให้บริการรับ – จ่ายเงิน และบริการข้อมูลสารสนเทศด้านบัญชี ของ สสวท. เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนด้านการวางแผนและตัดสินใจของผู้บริหาร

          ฝ่ายการเงินและการบัญชี มีชื่อเมื่อแรกตั้งว่า “ฝ่ายการคลัง” ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น ฝ่ายการเงินและการบัญชี โดยเป็นหน่วยงานหนึ่งของ สสวท. ที่มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมงบประมาณ ให้บริการรับ – จ่ายเงิน และบริการข้อมูลสารสนเทศด้านบัญชี ของ สสวท. เพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนด้านการวางแผนและตัดสินใจของผู้บริหาร

         ในอดีต ฝ่ายการคลัง ไม่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการปฏิบัติงาน การลงรายการรับ – จ่ายเงิน จะใช้การเขียนด้วยมือลงกระดาษ แยกสีตามประเภทการรับเงิน โดยไม่มีระบบการเชื่อมข้อมูลกับส่วนบัญชี จะเป็นการกระทบยอดระหว่างกันเท่านั้น
ส่วนบัญชี การบันทึกบัญชีในอดีตเป็นการบันทึกบัญชีด้วยสมุดบัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภท บัญชีย่อย และการทำงบการเงิน จะคำนวณและดีดตัวเลขด้วยมือ ไม่มีระบบในการประมวลผล
          พ.ศ. 2538 ฝ่ายการเงินและบัญชี ได้เริ่มใช้คอมพิวเตอร์ในการบันทึกบัญชี และประมวลผล
          พ.ศ. 2548 – 2549 กรมบัญชีกลางเปิดใช้งานระบบ GFMIS ในการรับเงินฎีกา โดยไม่ต้องเดินทางไปยังกรมบัญชีกลางอีก
          พ.ศ. 2551 ฝ่ายการเงินและบัญชี เริ่มใช้โปรแกรม Oracle 10C ในการบันทึกบัญชี และประมวลผล ซึ่งนับเป็นก้าวแรกในการพัฒนาระบบงานให้มีมาตรฐาน มีความถูกต้อง และแม่นยำ มีการเชื่อมโยงระบบระหว่างส่วนงานการเงิน และงานบัญชี
          พ.ศ. 2554 ฝ่ายการเงินและบัญชี พัฒนาระบบงานผ่านเรื่อง แทนการเกษียณหนังสือด้วยมือในบันทึกข้อความ หรือการพิมพ์ดีด นอกจากนี้ ในปีนี้ ฝ่ายการคลังได้นำระบบรับรองมาตรฐาน ISO9001:2008 มาเป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงาน โดยได้รับใบรับรองมาตรฐาน ISO9001:2008 เป็นปีแรก
          พ.ศ. 2559 เริ่มใช้งานระบบโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ แทนการใช้เช็ค โดยเริ่มนำร่องจากการโอนเงินให้พนักงาน และพัฒนาเรื่อยมาจนใช้งานเต็มรูปแบบในปี พ.ศ. 2560
          พ.ศ. 2560 พัฒนาโปรแกรม Oracle 10C เป็น Oracle 12C เพื่อรองรับระบบ MIS-Plus ทั้งยังพัฒนาระบบงานให้สามารถสอดรับกับระบบ e-HR ที่ สสวท. นำมาใช้ได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          พ.ศ. 2561 เริ่มพัฒนาระบบรับเงินผ่าน QR-Code เพื่อเป็นช่องทางการรับเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อลดการรับเงินสด และในปีนี้ยังมีการพัฒนาระบบงาน จนได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO9001:2015
          พ.ศ. 2562 เริ่มทดลองการใช้บัตรเครดิตราชการ เพื่อลดความเสี่ยงของพนักงานในการถือเงินสด และได้ประสานกับธนาคารเพื่อใช้ระบบการฝาก – ถอน บัญชีออมทรัพย์แบบ No Book
          พ.ศ. 2563 พัฒนาระบบ Digital Banking เพื่อรับคืนเงินยืมพนักงานในระบบ MIS Plus โดยการสร้าง QR Code ชำระเงิน และพัฒนาระบบลูกหนี้ค่าปรับทุนการศึกษาที่ผิดสัญญา
          ฝ่ายการเงินและบัญชี ยังคงเดินหน้าพัฒนาระบบการทำงานอย่างไม่หยุดยั้ง เพื่อเป็น SMART FA one to click

“ฝ่ายการเงินและบัญชีมองเห็นโอกาสจากการทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ ให้เกิดประโยชน์ ทำให้พนักงานในฝ่ายการเงินและบัญชีเกิดการคิดต่อยอด มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการในหลาย ๆ ด้าน โดยคำนึงถึงการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นสำคัญ”

นางสมนึก ทิศหล้า

ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินและบัญชี

         ปีงบประมาณ 2563 ฝ่ายการเงินและบัญชี ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ตามโครงสร้างองค์กรฝ่ายการเงินและบัญชีอยู่ภายใต้กำกับดูแลของสำนักบริหารและพัฒนาองค์กร มีหน้าที่ในการสนับสนุนงานด้านการเงินและบัญชี ให้มีความถูกต้องตามระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนควบคุมดูแลการดำเนินงานด้านการเงินและบัญชี จัดทำรายงานต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนและช่วยเหลือการดำเนินงานของ สสวท. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องตามที่ได้รับมอบหมาย ซึ่งงานด้านสนับสนุนเป็นงานบริการให้ลูกค้าได้รับการอำนวยความสะดวก และเกิดความพึงพอใจ ฝ่ายการเงินและบัญชีจึงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

 ในปี 2563 สสวท. ได้มีการดำเนินงานวิถีใหม่ หรือ นิวนอร์มัล (New Normal) เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การทำงานด้านต่าง ๆ ภายใน สสวท. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้พัฒนาวิถีการดำเนินงานเพื่อก้าวผ่านข้อจำกัดต่าง ๆ ให้รองรับต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ฝ่ายการเงินและบัญชีมีความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของ สสวท. ที่ก้าวผ่านข้อจำกัดเกี่ยวกับงานด้านการเงินและบัญชี โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงาน และมีการวางแผนกระบวนการทำงานต่าง ๆ เมื่อพนักงานต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home) ฝ่ายการเงินและบัญชี สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่ สสวท. กำหนดไว้ตามแผนงานปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2563 จากเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤติดังกล่าว ฝ่ายการเงินและบัญชีมองเห็นโอกาสจากการทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้พนักงานในฝ่ายการเงินและบัญชีเกิดการคิดต่อยอด มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการในหลาย ๆ ด้าน โดยคำนึงถึงการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบการจ่ายเงินโดยวิธีการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก พัฒนาระบบการรับเงินโดยใช้ QR Code พัฒนาระบบการรับชำระหนี้ของลูกหนี้ปรับทุน พัฒนาช่องทางการสื่อสารนอกจากนี้มีการทบทวนข้อบังคับ สสวท. ว่า          ในปี 2563 สสวท. ได้มีการดำเนินงานวิถีใหม่ หรือ นิวนอร์มัล (New Normal) เนื่องมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทำให้การทำงานด้านต่าง ๆ ภายใน สสวท. มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงได้พัฒนาวิถีการดำเนินงานเพื่อก้าวผ่านข้อจำกัดต่าง ๆ ให้รองรับต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าว ฝ่ายการเงินและบัญชีมีความภูมิใจที่เป็นส่วนหนึ่งของ สสวท. ที่ก้าวผ่านข้อจำกัดเกี่ยวกับงานด้านการเงินและบัญชี โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการปฏิบัติงาน และมีการวางแผนกระบวนการทำงานต่าง ๆ เมื่อพนักงานต้องทำงานที่บ้าน (Work from Home) ฝ่ายการเงินและบัญชี สามารถปฏิบัติงานได้ตามเป้าหมายที่ สสวท. กำหนดไว้ตามแผนงานปฏิบัติงานปีงบประมาณ 2563 จากเหตุการณ์ที่เป็นวิกฤติดังกล่าว ฝ่ายการเงินและบัญชีมองเห็นโอกาสจากการทำงานโดยนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์ ทำให้พนักงานในฝ่ายการเงินและบัญชีเกิดการคิดต่อยอด มีการปรับปรุงและพัฒนาการบริหารจัดการในหลาย ๆ ด้าน โดยคำนึงถึงการให้บริการแก่ลูกค้าเป็นสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาระบบการจ่ายเงินโดยวิธีการโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ให้กับลูกค้าภายใน และลูกค้าภายนอก พัฒนาระบบการรับเงินโดยใช้ QR Code พัฒนาระบบการรับชำระหนี้ของลูกหนี้ปรับทุน พัฒนาช่องทางการสื่อสารนอกจากนี้มีการทบทวนข้อบังคับ สสวท. ว่า ด้วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของ สสวท. พ.ศ. 2553 และประกาศ สสวท. หมวด 1 – หมวด 4 เพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังอำนวยความสะดวกให้กับผู้รับบริการ รวมไปถึงเป็นการพัฒนาบุคลากร และเพิ่มพูนทักษะการทำงานภายในฝ่ายการเงินและบัญชี ซึ่งปี 2563 นั้น ฝ่ายการเงินและบัญชียังได้มีการตรวจติดตามมาตรฐานระบบบริหารงานคุณภาพ ISO 9001 : 2015 นโยบายคุณภาพ คือ “ใส่ใจให้บริการ พัฒนากระบวนการสื่อสารอย่างไม่สิ้นสุด เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดแก่ผู้รับบริการ ภายใต้ความถูกต้อง”

ฝ่ายการเงินและบัญชีได้นำแผนกลยุทธ์ของหน่วยงานสู่การปฏิบัติให้เป็นรูปธรรม
และก้าวสู่ Go Digital ตามที่ สสวท. คาดหวัง เพราะฝ่ายการเงินและบัญชีคำนึงเสมอว่า
 “ALL for IPST IPST for ALL”